...ยินดีต้อนรับเข้าสู่ Web-blog ของคุณครูวรรณธมลค่ะ!!!...


พันธะเคมี

พันธะเคมี
(Chemical Bonding)
กฎออกเตต เป็นการจัดเรียงอิเล็กตรอนของอะตอมให้ได้ครบ 8 ตัว
พันธะเคมี เป็นแรงยึดเหนี่ยวภายในและภายนอกระหว่างอะตอม โมเลกุล หรือไอออน พันธะเคมีเกิดจากเวเลนซ์อิเล็กตรอน (อิเล็กตรอนในระดับพลังงานนอกสุด) ของอะตอมนั้นมีจำนวนอิเล็กตรอนครบ 8 ตัว ซึ่งเป็นไปตามกฎออกเตต ทำให้ธาตุนั้นเสถียร ด้วยวิธีการต่างๆ คือ
1. ให้อิเล็กตรอนกับอะตอม
2. รับอิเล็กตรอนจากอะตอมอื่น
3. ใช้อิเล็กตรอนร่วมกันกับอะตอมอื่นซึ่งแบ่งออกได้ 6 ชนิด คือ พันธะไอออนิก พันธะโควาเลนต์ พันธะโควาเลนต์ พันธะไฮโดรเจน พันธะโลหะ และแรงแวนเดอร์วาลส์
พันธะไอออนิก (Ionic bond)คือ แรงยึดเหนี่ยวที่เกิดในสาร โดยที่อะตอมของธาตุที่มีค่าพลังงานไอออไนเซชันต่ำ ให้เวเลนต์อิเล็กตรอนแก่อะตอมของธาตุที่มีค่าพลังงานไอออนไนเซชันสูง กลายเป็นไอออนที่มีประจุบวกและประจุลบ เมื่อไอออนทั้งสองเข้ามาอยู่ใกล้กันจะเกิดแรงดึงดูดทางไฟฟ้าที่แข็งแรงระหว่างประจุไฟฟ้าตรงข้ามเหล่านั้น ทำให้ไอออนทั้งสองยึดเหนี่ยวกัน
พันธะโคเวเลนต์ (Covalent bond)หมายถึง พันธะที่เกิดจากการใช้เวเลนซ์อิเล็กตรอนร่วมกัน ดังเช่น ในกรณีของไฮโดรเจน ดังนั้นลักษณะที่สำคัญของพันธะโคเวเลนต์ก็คือการที่อะตอมใช้เวเลนต์อิเล็กตรอนร่วมกันเป็นคู่ ๆสารประกอบที่อะตอมแต่ละคู่ยึดเหนี่ยวกันด้วยพันธะโคเวเลนต์ เรียกว่า สารโคเวเลนต์โมเลกุลของสารที่อะตอมแต่ละคู่ยึดเหนี่ยวกันด้วยพันธะโคเวเลนต์ เรียกว่า โมเลกุลโคเวเลนต์
พันธะโลหะ (Metallic bond)คือ พันธะที่เกิดเนื่องจากแรงดึงดูดระหว่างไอออนบวกซึ่งเรียงชิดกันกับเวเลนต์อิเล็กตรอนที่เคลื่อนที่อยู่โดยรอบทั้งก้อนโลหะ และการที่เวเลนต์อิเล็กตรอนเคลื่อนที่ได้อย่างอิสระ เพราะโลหะเป็นธาตุที่มีเวเลนต์อิเล็กตรอนน้อยและมีค่าพลังงานไอออนไนเซชันต่ำ จึงทำให้เกิดกลุ่มหมอกอิเล็กตรอนและไอออนบวกได้ง่ายโดยที่คุณสมบัติของโลหะนั้นจะเป็นธาตุที่เป็นของแข็ง (ยกเว้นปรอทที่เป็นของเหลว) นำไฟฟ้าได้ดีมากกว่าอิเล็กตรอนเคลื่อนที่ไปมาตลอดเวลา มีผิวมันวาว มีจุดเดือดและจุดหลอมเหลวสูง นำความร้อนได้ดี และสามารถตีแผ่เป็นแผ่นบางๆได้

0 Response to "พันธะเคมี"

แสดงความคิดเห็น